คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เปิดรับสมัครผู้เข้าอบรม หลักสูตร กฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง บัดนี้ – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๒ ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่เลขที่ ๒๗๒ หมู่ ๙ ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารแนบ ได้ดังนี้
กำหนดการ หลักสูตรกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง รุ่นที่ 1(21092562) 28.62 KB 98 downloads
...กรณี ท่านยังไม่สะดวกเดินทางมาสมัครที่คณะนิติศาสตร์ ท่านสามารถดาวน์โหลดใบสมัคร+ใบหลักฐานการชำระเงิน กรอกข้อมูลให้ครบถ้วนและโอนเงินสมัคร 200 บาท มาที่บัญชี
ธนาคารกรุงไทย สาขาขุนทะเล เลขที่บัญชี 678-5-27738-8
ชื่อบัญชี นางนราวดี ถาวรานุรักษ์และน.ส.เจนจิรา แช่เตี่ยว(หลักสูตรกฎหมายปกครอง)
แล้ว fax มายังหมายเลย 077- 913379 หรือ E-mail : kwan.sru@gmail.com
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 077- 913378
กำหนดการดำเนินงาน
รายการ |
วันเวลา |
สถานที่ |
รับสมัคร |
บัดนี้ -30 กันยายน ๒๕๖๒ |
สำนักงานคณะนิติศาสตร์ และ www.law.sru.ac.th |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบข้อเขียน |
4 ตุลาคม ๒๕๖๒ |
บอร์ดประชาสัมพันธ์คณะนิติศาสตร์ และwww.law.sru.ac.th |
สอบข้อเขียน |
20 ตุลาคม ๒๕๖๒ |
ห้องราชาวดี อาคารคณะนิติศาสตร์ |
ประกาศผลสอบข้อเขียน |
24 ตุลาคม ๒๕๖๒ |
บอร์ดประชาสัมพันธ์คณะนิติศาสตร์ และ www.law.sru.ac.th |
สอบสัมภาษณ์ |
27 ตุลาคม ๒๕๖๒ |
ห้องพุดตาน อาคารคณะนิติศาสตร์ |
ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก |
31 ตุลาคม ๒๕๖๒ |
บอร์ดประชาสัมพันธ์คณะนิติศาสตร์ และ www.law.sru.ac.th |
อบรมผู้ที่ไม่มีคุณวุฒินิติศาสตรบัณฑิต (ชำระค่าลงทะเบียนสำหรับผู้ไม่มีคุณวุฒินิติศาสตรบัณฑิต) |
2-16 พฤศจิกายน ๒๕๖๒ |
ห้องราชาวดี อาคารคณะนิติศาสตร์ |
ชำระค่าลงทะเบียน งวดที่ 1 (กรณีแบ่งชำระ 2 งวด) |
2-17 พฤศจิกายน ๒๕๖๒ |
สำนักงานคณะนิติศาสตร์ชั้น 1 คณะนิติศาสตร์ |
ปฐมนิเทศ |
17 พฤศจิกายน ๒๕๖๒ |
ห้องราชาวดี อาคารคณะนิติศาสตร์ |
ภาคบรรยาย |
23 พฤศจิกายน ๒๕๖๒– 16 พฤษภาคม ๒๕๖๓ |
ห้องราชาวดี อาคารคณะนิติศาสตร์ |
ชำระค่าลงทะเบียน งวดที่ 2 (กรณีแบ่งชำระ 2 งวด) |
2-29 พฤษภาคม 2562 |
สำนักงานคณะนิติศาสตร์ชั้น 1 คณะนิติศาสตร์ |
ภาคปฏิบัติ |
30 พฤษภาคม – 13 มิถุนายน ๒๕๖๓ |
ห้องราชาวดี อาคารคณะนิติศาสตร์ |
ศึกษาดูงาน |
14 มิถุนายน ๒๕๖๓ |
ศาลปกครองนครศรีธรรมราช หรือศาลปกครองอื่น ๆ |
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐในส่วนภูมิภาค ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการกระจายความรู้เกี่ยวกับกฎหมายมหาชนกฎหมายปกครองที่สำคัญและกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครองขึ้น เพื่อเผยแพร่และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทั้งในด้านแนวคิดทฤษฎีและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง จึงได้จัดให้มีโครงการอบรมหลักสูตรกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองขึ้น โดยประสงค์จะได้รับการรับรองตามมาตรฐานหลักสูตรกฎหมายปกครองหรือหลักสูตรกฎหมายมหาชนที่ ก.ศป. เพื่อสร้างมาตรฐานในการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรภาครัฐ บุคคลที่สนใจทั่วไป และสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในส่วนที่ตนเกี่ยวข้องให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
๔. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
๑. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในทฤษฎี แนวคิด และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง รวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
๒. เพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้เข้ารับการอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๓. เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายมหาชนกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
๔. เพื่อพัฒนาและเตรียมความพร้อมของบุคลากรเพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางปกครอง
๕. โครงสร้างหลักสูตรการอบรม
การอบรมประกอบด้วย
๑. การปฐมนิเทศ ๓ ชั่วโมง
๒. ภาคบรรยายแบ่งเป็น ๕ หมวด (รวมเป็น ๒๗๙ ชั่วโมง)
๓. ภาคปฏิบัติและการดูงาน รวม ๓๓ ชั่วโมง
๔. สำหรับผู้ที่ไม่มีวุฒิการศึกษานิติศาสตรบัณฑิตหรือเทียบเท่าต้องเข้ารับการอบรมเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มทักษะก่อนเริ่มการอบรมตามหลักสูตรจำนวน ๓๐ ชั่วโมง รวมเป็น ๓๔๒ชั่วโมง
รวมระยะเวลาการอบรม
๑. จำนวน ๓๑๒ ชั่วโมง สำหรับผู้สมัครที่สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต
๒. จำนวน ๓๔๒ ชั่วโมง สำหรับผู้สมัครที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีในสาขาอื่น ๆ
๖. หัวข้อวิชาและขอบเขตของเนื้อหา
๖.๑ ปฐมนิเทศ (จำนวน ๓ ชั่วโมง)
๖.๒ รายวิชาภาคบรรยาย (จำนวน ๒๗๙ ชั่วโมง)
๑. หลักพื้นฐานของกฎหมายมหาชน (จำนวน ๑๘ ชั่วโมง)
ปรัชญาและแนวความคิดเกี่ยวกับกฎหมายมหาชน ความหมายและลักษณะสำคัญของกฎหมายมหาชน การแบ่งประเภทระหว่างกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน พัฒนาการเกี่ยวกับกฎหมายมหาชนและกฎหมายมหาชนในต่างประเทศ แนวคิดพื้นฐานและนิติวิธีในกฎหมายมหาชน รัฐ ความเป็นนิติบุคคลของรัฐในรัฐธรรมนูญ หลักนิติรัฐและหลักการแบ่งแยกอำนาจ การจำกัดการใช้อำนาจของรัฐ และแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ
๑.๑ ความหมายและความเป็นมาของกฎหมายมหาชน และการแบ่งแยกกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน ( ๖ ชั่วโมง)
๑.๒ รัฐและรัฐธรรมนูญ (๖ ชั่วโมง)
๑.๓ หลักกฎหมายว่าด้วยบุคคลและนิติบุคคลในกฎหมายมหาชน (๖ ชั่วโมง)
๒. กฎหมายปกครองภาคทั่วไป (จำนวน ๑๓๒ ชั่วโมง)
ความหมาย ลักษณะของฝ่ายปกครองความหมายลักษณะสำคัญและสาขาของกฎหมายปกครอง บริการสาธารณะ และนิติวิธีในกฎหมายปกครอง การจัดโครงสร้างองค์กรฝ่ายปกครองและบุคลากรภาครัฐ ตลอดจนทรัพย์สินของแผ่นดิน หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง คำสั่งทางปกครอง และการพิจารณาคำสั่งทางปกครอง กฎ ปฏิบัติการทางปกครอง สัญญาทางปกครอง และอนุญาโตตุลาการ ความรับผิดของฝ่ายปกครองและความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจปกครอง
๒.๑ โครงสร้างของฝ่ายปกครอง (๑๒ ชั่วโมง)
๒.๒ บุคลากรภาครัฐ (๙ ชั่วโมง)
๒.๓ บริการสาธารณะ (๑๒ ชั่วโมง)
๒.๔ ทรัพย์สินของแผ่นดิน (๙ ชั่วโมง)
๒.๕ การกระทำของฝ่ายปกครอง (๓๐ ชั่วโมง)
๒.๕.๑ กฎ
๒.๕.๒ คำสั่งทางปกครอง
๒.๕.๓ การกระทำทางกายภาพ
๒.๕.๔ สัญญาทางปกครอง
๒.๖ หลักความชอบด้วยกฎหมายของการใช้อำนาจของฝ่ายปกครอง (๒๔ ชั่วโมง)
๒.๗ การควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายปกครอง (๑๒ ชั่วโมง)
๒.๘ ความรับผิดของฝ่ายปกครอง (๑๒ ชั่วโมง)
๒.๙ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ (๑๒ ชั่วโมง)
๓. รายวิชากฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ (จำนวน ๑๕ ชั่วโมง)
แนวความคิดพื้นฐานของการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการปฏิรูปการปกครองส่วนกลางและท้องถิ่น โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ รายได้ และการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนกลางและท้องถิ่น และคดีปกครองเกี่ยวกับการปกครองส่วนกลางและท้องถิ่น กฎหมายว่าด้วยรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์การมหาชน องค์กรอิสระ และหน่วยธุรการของศาลและองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
๓.๑ กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค (๖ ชั่วโมง)
๓.๒ กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น (๖ ชั่วโมง)
๓.๓ กฎหมายว่าด้วยรัฐวิสากิจ องค์การมหาชน หน่วยงานของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนหน่วยธุรการของศาลและองค์กรตามรัฐธรรมนูญ (๓ ชั่วโมง)
๔. รายวิชากฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง (จำนวน ๖๖ ชั่วโมง)
ระบบศาล แนวความคิดทั่วไปว่าด้วยคดีปกครองและระบบศาลปกครอง หลักทั่วไปว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง เขตอำนาจศาลปกครองของไทยและการชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล เงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองการพิจารณาคดีปกครอง และวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา การแสวงหาข้อเท็จจริงในการรับฟังพยานหลักฐานในศาลปกครอง กระบวนพิจารณาในชั้นการนั่งพิจารณาคดี การทำคำพิพากษา การอุทธรณ์คำพิพากษา วิธีพิจารณาในศาลสูงสุดในการบังคับคดีปกครอง
๔.๑ แนวคิดทั่วไปว่าด้วยคดีปกครองและระบบศาลปกครอง (๖ ชั่วโมง)
๔.๒ หลักทั่วไปว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครองและเขตอำนาจของศาลปกครอง (๑๒ ชั่วโมง)
๔.๓ เงื่อนไขการฟ้องคดีปกครอง (๖ ชั่วโมง)
๔.๔ การชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ( ๖ ชั่วโมง)
๔.๕ การทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครอง และวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา (๖ ชั่วโมง)
๔.๖ การแสวงหาข้อเท็จจริงและการรับฟังพยานหลักฐานในคดีปกครอง (๖ ชั่วโมง)
๔.๗ กระบวนพิจารณาในชั้นนั่งพิจารณาคดี (๖ ชั่วโมง)
๔.๘ การทำคำพิพากษา การอุทธรณ์ (๖ ชั่วโมง)
๔.๙ วิธีพิจารณาคดีในศาลปกครองสูงสุด (๖ ชั่วโมง)
๔.๑๐ การบังคับคดีปกครอง (๖ ชั่วโมง)
๕. รายวิชากฎหมายปกครองเฉพาะด้าน ( จำนวน ๔๘ ชั่วโมง)
กฎหมายปกครองที่สำคัญที่ศาลปกครองนำมาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีปกครองเฉพาะด้าน ซึ่งเป็นการศึกษาจากคดีที่ศาลปกครองได้มีคำพิพากษาที่สำคัญในคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองและการพัสดุ กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายเกี่ยวกับที่ดินและการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การควบคุมอาคาร และผังเมือง กฎหมายเกี่ยวกับบุคลากรภาครัฐ กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น กฎหมายเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของทางราชการ และการจัดสรรคลื่นความถี่ กิจการกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
๕.๑ คดีปกครองเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองและการพัสดุ (๖ ชั่วโมง)
๕.๒ คดีปกครองเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (๖ ชั่วโมง)
๕.๓ คดีปกครองเกี่ยวกับที่ดินและการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ (๖ ชั่วโมง)
๕.๔ คดีปกครองเกี่ยวกับการควบคุมอาคารและผังเมือง (๖ ชั่วโมง)
๕.๕ คดีปกครองเกี่ยวกับการบริหารงานบุคลากรภาครัฐ (๖ ชั่วโมง)
๕.๖ คดีปกครองเกี่ยวกับการปกครองและการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น (๖ ชั่วโมง)
๕.๗ คดีปกครองเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่ กิจการกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม(๖ ชั่วโมง)
๕.๘ คดีปกครองเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดและความรับผิดอย่างอื่น (๖ ชั่วโมง)
๖.๓ ภาคปฏิบัติและการดูงาน (จำนวน ๓๓ ชั่วโมง)
๑. ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจคำฟ้องและจัดทำคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา (๙ ชั่วโมง)
๒. ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำคำบันทึกของตุลาการเจ้าของสำนวน (๖ ชั่วโมง)
๓. ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำคำแถลงการณ์ของตุลาการผู้แถลงคดี (๖ ชั่วโมง)
๔. ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำคำพิพากษาและการทำคำบังคับ (๖ ชั่วโมง)
๕. การดูงานศาลปกครองภายในประเทศ (๖ ชั่วโมง)
๖.๔ รายวิชากฎหมายและกระบวนการยุติธรรม (อบรมเพิ่มเติมสำหรับผู้ไม่มีวุฒินิติศาสตรบัณฑิตหรือเทียบเท่า) จำนวน ๓๐ ชั่วโมง
ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป การบังคับใช้กฎหมาย นิติวิธี หลักทั่วไปในกฎหมายอาญา ความรับผิดทางอาญา โทษทางอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นิติกรรมสัญญา หนี้ ละเมิด ทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
๑. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป (๖ ชั่วโมง)
๒. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายอาญา (๖ ชั่วโมง)
๓. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (๖ ชั่วโมง)
๔. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (๖ ชั่วโมง)
๕. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (๖ ชั่วโมง)
๗. วิทยากร
โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญในสาขากฎหมายปกครอง กฎหมายมหาชน หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องจากศาลปกครอง สถาบันการศึกษา และอื่น ๆ ซึ่งได้รับการตอบรับแล้ว ดังนี้
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากศาลปกครอง
๑. ศ.(พิเศษ)ดร.ชาญชัย แสวงศักดิ์ รองประธานศาลปกครองสูงสุด
๒. รศ.ดร.วิษณุ วรัญญู รองประธานศาลปกครองสูงสุด
๓. อาจารย์นพดล เฮงเจริญ รองประธานศาลปกครองสูงสุด
๔. อาจารย์ประสิทธิศักดิ์ มีลาภ ประธานแผนกคดีละเมิดและความรับผิดอย่างอื่นในศาลปกครองสูงสุด
๕. อาจารย์สุชาติ มงคลเลิศลพ ประธานแผนกคดีบริหารราชการแผ่นดินในศาลปกครองสูงสุด
๖. อาจารย์ประวิตร บุญเทียม ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด
๗. อาจารย์สมชัย วัฒนการุณ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด
๘. อาจารย์สมรรถชัย วิศาลาภรณ์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด
๙. อาจารย์ ดร.บุญอนันต์ วรรณพานิชย์ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
๑๐. อาจารย์ ดร.มานิตย์ วงศ์เสรี ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
๑๑. อาจารย์ไชยวัฒน์ ธำรงศรีสุข ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
๑๒. อาจารย์อนุพงศ์ สุขเกษม ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
๑๓. อาจารย์กิตดนัย ธรมธัช ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
๑๔. อาจารย์ประนัย วณิชชานนท์ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
๑๕. อาจารย์ ดร.ประสาท พงษ์สุวรรณ์ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
๑๖. อาจารย์วชิระ ชอบแต่ง ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองภูเก็ต
๑๗. รศ.ดร.สายทิพย์ สุคติพันธ์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองนครศรีธรรมราช
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษาอื่น
๑. ศ.บรรเจิด สิงคะเนติ คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
๒. รศ.มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๓. ศ.(พิเศษ) ดร.กมลชัย รัตนสกาววงศ์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
๔. ศ.สมยศ เชื้อไทย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๕. ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิทยากรจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
๑. ผศ.ดร.อัคคกร ไชยพงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
๒. ผศ.ดร.จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
๓. ผศ.นนทชัย โมรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
๔. ผศ.เพชร ขวัญใจสกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
๕. ดร.นพดล ทัดระเบียบ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
๘. สถานที่อบรม/ความพร้อมของสถานที่
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่เลขที่ ๒๗๒ หมู่ ๙ ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการเรียนการสอน ได้แก่ ห้องบรรยาย ห้องเรียน ห้องอ่านหนังสือ ห้องสมุด และห้องศาลจำลอง รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานของ e-learning ที่ทันสมัย
คณะนิติศาสตร์ มีอาคารเรียน ๓ ชั้นที่อยู่ในความรับผิดชอบดูแล เป็นอาคารที่มีห้องเรียนทั้งหมด ๗ ห้อง ขนาดระหว่าง ๔๐ ที่นั่งถึง ๑๒๐ ที่นั่ง โดยห้องที่จะใช้ในการจัดอบรมเป็นห้องขนาดความจุ ๑๒๐ ที่นั่ง โดยทุกห้องเรียนมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยครบครันสามารถใช้จัดอบรมหลักสูตรกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองเป็นอย่างดี โดยมีอุปกรณ์ดังกล่าว ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องฉายโปรเจคเตอร์
คณะนิติศาสตร์มีห้องสมุดภายในอาคารของคณะ มีหนังสือ ตำราทางด้านกฎหมายทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ นอกจากนั้นยังมีสำนักวิทยบริการหอสมุดกลางเป็นหอสมุดที่ใหญ่และทันสมัยแห่งหนึ่ง มีหนังสือตำราทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ รวมทั้งมีฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็นต่อการศึกษาจำนวนมากในส่วนของข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎหมายที่สำคัญ คือ ฐานข้อมูลระบบจัดการความรู้กฎหมายไทย (Thai Law Database) โดยผู้เข้าอบรมสามารถเข้าใช้รหัสผ่านของผู้รับการอบรมที่ทางคณะจัดเตรียมให้
๙. จำนวน กลุ่มเป้าหมาย และคุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
๙.๑ จำนวนรุ่นละ ๘๐ คน
๙.๒ กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้บริหารงานภาครัฐ ภาคเอกชน ธุรกิจ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในท้องถิ่น และผู้ประสงค์จะประกอบวิชาชีพในสายกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง
๙.๓ คุณสมบัติ
๑. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศที่ ก.พ. รับรอง
๒. เป็นผู้ผ่านการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะนิติศาสตร์กำหนด
๓. มีความตั้งใจและสามารถเข้ารับการอบรมอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องได้ตลอดหลักสูตรการศึกษา
๔. มีศักยภาพในการนำความรู้ที่จะได้รับจากการอบรมในหลักสูตรไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับการปฏิบัติงานในหน่วยงานหรือกระบวนการยุติธรรม
๑๐. วิธีการคัดเลือก
ใช้วิธีการสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางกฎหมาย กฎหมายปกครอง และกฎหมายมหาชน เพื่อพิจารณาประสบการณ์ ศักยภาพ บุคลิกภาพ ความตั้งใจ และความพร้อมในการที่จะศึกษา
๑๑. การวัดผลและการผ่านการฝึกอบรม
๑๑.๑ การวัดผล ภาคบรรยายข้อสอบอัตนัย ๕ หมวดวิชาและสอบภาคปฏิบัติ ๔ หัวข้อโดยทั้งสองภาคได้คะแนนรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป
๑๑.๒ เกณฑ์การผ่านการฝึกอบรม ผู้ที่จะผ่านการอบรมและได้รับประกาศนียบัตรรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองจะต้อง
๑. เข้าร่วมอบรมต้องเข้ารับการอบรมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาทั้งหมดของหลักสูตรและ
๒. สอบผ่านทั้งภาคบรรยายและภาคปฏิบัติได้คะแนนร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป
ในกรณีที่ผู้เข้ารับการอบรมสอบไม่ผ่านการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมสามารถลงทะเบียนเพื่อสอบแก้ไขได้ตามตารางการสอบในรุ่นถัดไปตามที่โครงการประกาศกำหนดจนกว่าจะสอบผ่านตามเกณฑ์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
๑๒. กำหนดการฝึกอบรม (อบรมเสาร์-อาทิตย์)
๑๒.๑ วันและเวลาในการอบรม ทุกวันเสาร์ – อาทิตย์ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
๑๒.๒ ช่วงเวลาในอบรม ( 8 เดือน)
๑. สำหรับผู้ที่ไม่มีคุณวุฒินิติศาสตรบัณฑิต เริ่มเดือนตุลาคม
๒. หลักสูตรกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง เริ่มเดือนสิงหาคม
๑๓. เอกสารหลักฐานการสมัคร
๑. ใบสมัครที่กรอกข้อมูลครบถ้วน
๒. รูปถ่ายหน้าตรงขนาด ๑ นิ้วจำนวน ๓ รูป (รวมที่ติดบนใบสมัคร)
๓. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้จำนวน ๑ ฉบับ
๔. สำเนาปริญญาบัตร จำนวน ๑ ฉบับ สำเนาเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องเช่นใบเปลี่ยนชื่อกรณีที่ชื่อ-นามสกุลในเอกสารไม่ตรงกัน
๑๔. ค่าธรรมเนียม
๑๔.๑ ค่าธรรมเนียมการสมัครและการสอบคัดเลือก ๒๐๐ บาท
๑๔.2 ค่าใช้จ่ายในการอบรมหลักสูตร (รวมค่าอาหาร อาหารว่าง เครื่องดื่ม และเอกสารประกอบ
การอบรม)
๑๔.2.1 บุคคลทั่วไป จำนวน ๗๐,๐๐๐ บาท
๑๔.2.2 ข้าราชการ ทนายความ เจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 6๐,๐๐๐ บาท
๑๔.2.3 อาจารย์พิเศษและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน ๔๕,๐๐๐ บาท
๑๔.2.๔ บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน ๓๕,๐๐๐ บาท
๑๔.3 สำหรับผู้ที่ไม่มีคุณวุฒินิติศาสตรบัณฑิต มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ๔,๕๐๐ บาท
๑๕. ผู้รับผิดชอบดำเนินการ
๑. ผศ.นนทชัย โมรา คณบดีคณะนิติศาสตร์ ประธานคณะทำงาน
๒. ผศ.เพชร ขวัญใจสกุล รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะทำงาน
๓. อาจารย์ทศพร จินดาวรรณ รองคณบดีฝ่ายแผนและพัฒนาบุคลากร คณะทำงาน
๔. อาจารย์กิตติพิชญ์ โสภา รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่า คณะทำงาน
๕. ผศ.ดร.อัคคกร ไชยพงษ์ หัวหน้าหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะทำงาน
๖. อาจารย์ขวัญทยา บุญเชิด อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ คณะทำงานและเลขานุการ
๗. นางสาวเพ็ญวดี ภักดีคำ หัวหน้าสำนักงานคณบดี ผู้ช่วยเลขานุการ
๘. นางนราวดี ถาวรานุรักษ์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ผู้ช่วยเลขานุการ
๙. นางสาวเจนจิรา แซ่เตี่ยว เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ผู้ช่วยเลขานุการ